คุณเคยรับโทรศัพท์จากเบอร์ขายสินค้า โดยไม่รู้ว่าเขาเอาเบอร์เรามาจากไหน หรือต้องรับ SMS ที่ไม่ได้สมัครแต่ถูกหักเงินหรือไม่ ทั้งหมดนี้คือการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลที่เราไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลยในช่วงที่ผ่านมา แต่ในเมื่อเทคโนโลยีเดินหน้าไว รัฐบาลไทยเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคล ล่าสุดสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นชอบในหลักการวาระที่ 1 ของร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับดิจิทัล 6 ฉบับช่วงส่งท้ายปี 2561 หนึ่งในนั้นคือร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

หากเจาะลึก พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในประเด็นสำคัญ โดยพ.ร.บ. ดังกล่าวมีลักษณะคล้ายคลึงกับ หลักคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation – GDPR) ที่นำร่องเริ่มประกาศใช้ไปแล้ว เรียกได้ว่าเป็นต้นแบบของ พ.ร.บ. ดังกล่าวเลยก็ว่าได้ เพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนในการกระตุ้นให้ผู้คนในสังคมตระหนักถึงความสำคัญของ “ข้อมูลส่วนบุคคล” OPEN-TEC จึงได้จัดทำสรุปหลักการสำคัญของ ร่าง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฉบับ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจเสร็จ 1395/2561 กันยายน 2561 ให้สมาชิกทุกท่านได้ทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวในรูปแบบของ Presentation พร้อมกับบทสัมภาษณ์เพิ่มเติมจาก นายสิทธิกิตติ์ รวิวีรวรรณ Creative Director & Business Development บริษัท คิวคิว (ประเทศไทย) ผู้พัฒนาแอพลิเคชั่น QueQ ระบบจองคิวออนไลน์

ขอบคุณภาพจาก นายสิทธิกิตติ์ รวิวีรวรรณ

ซึ่งเป็นแอพฯ ที่มียอดดาวน์โหลดกว่า 1 ล้านดาวน์โหลด และผู้ใช้งานต่อเดือนอีกกว่า 200,000 คน ให้ข้อมูลว่า ร่าง พ.ร.บ.ใหม่ถือเป็นแนวทางในการจัดระเบียบสิ่งที่ประเทศไทยไม่เคยมี และจะทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้นเมื่อถูกถามข้อมูลส่วนตัว ที่ผ่านมาทางบริษัทได้เริ่มออกไปให้บริการในต่างประเทศ โดยมีข้อกฎหมายเรื่อง User Privacy ซึ่งได้นำมาปรับใช้และบรรจุลงใน Term & Agreement ให้ผู้ใช้บริการยินยอมอนุมัติ โดยได้เริ่มระบุแหล่งที่จัดเก็บข้อมูลให้ผู้ใช้บริการรับทราบ และชี้แจงรายละเอียดมากขึ้น

“แนวทางการนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการไปใช้ ยกตัวอย่างทางบริษัทส่วนใหญ่จะนำไปใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นหลัก เพื่อให้เข้าถึงความต้องการลูกค้ามากขึ้น ซึ่งจะประมวลผลออกมาในเชิงสถิติ แต่ด้านการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการจะไม่กระทำอย่างแน่นอนสิ่งที่ควรระวังในด้านการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลคือข้อมูลที่มีส่วนเชื่อมต่อกับการชำระเงิน เช่น อีเมลที่มีการผูกบัตรเครดิต เพราะจะทำให้สามารถเข้าถึงการเปลี่ยนรหัสผ่านของเจ้าของข้อมูลได้เกือบทั้งหมด” กล่าวโดยสิทธิกิตติ์ รวิวีรวรรณ

10 หลักการสำคัญของร่าง พ.ร.บ. คุ้มคองข้อมูลส่วนบุคคล
ฉบับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจเสร็จ 1395/2561 กันยายน 2561

ข้อมูลส่วนบุคคลถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ใกล้ตัวที่สุด และทุกคนควรรู้เพื่อป้องกันความปลอดภัย เพราะอาจมีผลกระทบต่อทรัพย์สินได้ ซึ่งต้องติดตามว่าในอนาคตผลการบังคับใช้กฎหมายด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทยจะใช้ได้จริง และครอบคลุมความต้องการของผู้บริโภคได้มากน้อยเพียงใด

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: https://www.sec.or.th/TH/Documents/seminar/seminar_051061_02.pdf