โลกเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดเพราะขีดความสามารถของเทคโนโลยีเปลี่ยนไปแบบไร้ขีดจำกัด ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างโดยเฉพาะการมาถึงของเทคโนโลยีฟินเทค (Fintech) ที่เข้ามา Disrupt กลุ่มอุตสาหกรรมการเงิน ทว่าแรงกดดันดังกล่าวจะสร้างโอกาสให้กับปลาเล็กที่เร็วอย่าง “ฟินเทคสตาร์ทอัพ” ในขณะที่วิถีการว่ายของปลาใหญ่อย่างธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ต้องปรับตัวให้สอดรับกับกระแสโลกเช่นกัน หากวิเคราะห์ตามคำบอกเล่าของนายไมเคิล อะราเน็ตตา รองประธานบริหาร ไอดีซี ไฟแนนเชียล อินไซต์ (IDC Financial Insights) ที่เคยกล่าวไว้ในงาน Fintech Dynamics in Asia สะท้อนให้เห็นว่า “โลกของอุตสาหกรรมการเงิน” ไม่ได้สร้างมาเพื่อผู้เล่นหลักในตลาดการเงินการธนาคารเหมือนดังในอดีตอีกต่อไปแล้ว ปัจจุบันธนาคารไม่เพียงต้องทำงานกับเหล่าฟินเทคสตาร์ทอัพเท่านั้น แต่ต้องทำงานกับผู้เล่นอื่นๆ ที่อยู่นอกกลุ่มบริการทางการเงินด้วยเช่นกัน อาทิ ผู้ค้าปลีก สายการบิน หรืออื่นๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้แรงขับเคลื่อนของ 4 เทคโนโลยีเด่นประกอบด้วย

  1. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
  2. การเรียนรู้ด้วยเครื่องจักร (Machine Learning)
  3. วิทยาศาสตร์ข้อมูลและการวิเคราะห์ขั้นสูง (Data Science and Advanced Analytics)
  4. บริการ Cloud (Cloud services)

ทั้งนี้ 3 เทคโนโลยีแรกถูกจัดประเภทอยู่ใน “การวิเคราะห์ข้อมูล” อันเป็นอนาคตขององค์กรต่างๆ ที่จะลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Manual หรือด้วยการใช้แรงงานมนุษย์มหาศาล เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยพัฒนาสินค้าตามความต้องการของลูกค้า ในการนำ Artificial Intelligence (AI) และการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักรมาใช้จริง ซึ่ง ฟินเทคจะต้องเก็บข้อมูลจากการทำธุรกรรม (มากที่สุดและ real-time ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้) และจะต้องมีแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้เพื่อจะประสาน รวบรวม และเก็บข้อมูลทั้งหมด ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเทคโนโลยีลำดับที่สี่อันได้แก่แพลตฟอร์มและบริการ Cloud ที่เชื่อถือได้

แนวโน้มสำคัญที่ต้องจับตามองในอุตสาหกรรมบริการทางการเงินแถบเอเชียแปซิฟิก

  1. การวิเคราะห์พฤติกรรมด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ การทุจริต และการป้องกัน/การตรวจจับทางไซเบอร์ จะถูกใช้โดย 15% ของธนาคารทั้งหมดเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับและบทลงโทษ
  2. ในปี 2020 เทคโนโลยี Blockchain/distributed ledger จะถูกพัฒนาถึง 20% ของการทำธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้า (Trade finance) ทั่วโลก
  3. ในปี 2019 การพัฒนา Cloud จะช่วยลดการใช้จ่ายโครงสร้างพื้นฐานถึง 25% ของธนาคารชั้นนำ
  4. ในปี 2018 การจ่ายเงินด้วยมือถือโดย Near-field communication (NFC) จะเพิ่มขึ้นถึง 15% ทั่วโลก สะท้อนถึงความไม่แน่นอนว่าใครจะเป็นเจ้าของอุปกรณ์นี้
  5. Disruptive Technology ต่างๆ หรือเทคโนโลยีที่สร้างตลาดใหม่และสร้างคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ รวมถึงเทคโนโลยีแบบ Cognitive ระบบอัตโนมัติที่ใช้หุ่นยนต์ Robotic process automation (RPA) และ Blockchain จะถูกนำมาใช้ถึง 50% ของธนาคารทั่วโลกในปี 2020 และเพิ่มการปฏิวัติดิจิทัลถึง 30%
  6. การลงทุนใน Third Platform การค้นหานวัตกรรมใหม่ๆ จะเติบโตขึ้นถึงสองเท่าของอัตราการใช้จ่ายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันที่ให้บริการทางการเงิน (FSIs) ทั้งหมดในปี 2020 ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั่วโลกสูงกว่า 5 แสนล้าน
  7. ในความพยายามที่จะสนับสนุนการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าแบบ live chat ประมาณ 20% ของธนาคารจะเริ่มโครงการทดสอบความเป็นไปได้ (Proof-of-Concept) ที่จะรวมทุกการสนทนาและการเชื่อมต่อต่างๆ ในรูปแบบการเข้าถึงลูกค้าจากทุกช่องทาง (omni-channel) ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ปี 2560 นี้
  8. ในปี 2018 ทุกๆ การบริหารความมั่งคั่งและบริษัทตลาดทุนจะสร้างหรือให้สิทธิใช้แพลตฟอร์มหุ่นยนต์ที่ปรึกษา (Robo-Advisor Platform) หรือใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence)ในการจัดการเงินทุน
  9. ในปี 2019 ประกันภัยที่ขึ้นอยู่กับการใช้จริง (UBI) ถูกสร้างขึ้นโดย Internet of Things (IoT) จะถูกใช้อย่างน้อย 15% ในตลาดประกันรถยนต์ทั่วโลก และ 10% ในตลาดประกันที่อยู่อาศัยทั่วโลก
  10. ในขณะที่การพัฒนาอย่างทั่วถึงจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ในปี 2017 เทคโนโลยีแบบ Cognitive จะถูกนำมาใช้ 15% ของธนาคาร โดยจะนำเสนอ “Voice banking” บนอุปกรณ์ต่างๆ ให้แก่ลูกค้า

ขอบคุณข้อมูล: IDC-Fintech Dynamics in Asia