“สนามแต่ละสนามมันมีจุดยากและจุดง่ายของมัน จำเป็นต้องปรับตัวและการปรับตัวที่ง่ายที่สุดคือ เขาต้องเป็นคนที่ coachable ได้”
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่านวัตกรรมด้านเทคโนโลยีทางการเงิน มีบทบาทสำคัญต่อการปฎิวัติวิธีจัดการและทำธุรกรรมทางการเงินของผู้คนในสังคมอย่างมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นผลจากความคึกคักของผู้เล่นในตลาดการเงิน ที่ต่างมุ่งสร้างนวัตกรรมและแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นหมากสำคัญในการดำเนินธุรกิจซึ่งส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปที่ 2 เทคโนโลยีเด่นอย่างเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และบล็อกเชน (Blockchain)
ทว่าในมุมมองของฟินเทคดาวรุ่งอย่าง “ รีฟินน์” ภายใต้การดูแลของ “โอปอล” นิลทิตา เลิศเรืองศุภกุล Chief Executive Officer & Co-founder คนแรกของบริษัท รีฟินน์ อินเตอร์เนชั่นแนล ดอท คอม จำกัด และ Co-founder บริษัท ไอโครา จำกัด เสริมแนวคิดในส่วนของการใช้ประโยชน์จากยุคดิจิทัลเพื่อการสร้างบริการที่ยั่งยืนสำหรับธุรกิจ ควบคู่กับความยั่งยืนสำหรับสังคมที่มีความหลากหลายมากขึ้น ผ่านวีดีโอสัมภาษณ์พิเศษที่จัดทำโดย OPEN-TEC
Highlights Interview
“โอปอล” นิลทิตาได้เปิดโอกาสให้ OPEN-TEC ได้สัมภาษณ์ ถึงกลยุทธ์สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจยุคดิจิทัลตามวิถีชาวพุทธที่ต้องคำนึงเรื่องของใจเป็นหลักและผสานรวมองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ อาทิ
- ผู้นำต้องมี Passion ของคนที่ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค “ใจต้องนิ่ง ไม่หวั่นไหวกับช่วง J-Curve Effect ที่ Tech Company ส่วนใหญ่ต้องเผชิญ
- สร้าง Technology Team ที่แข็งแกร่ง และสามารถจัดการกับ Tech Team ได้อย่างยอดเยี่ยม จัดการกับ User Experience ได้ดี และมีตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจนในการเติบโต
- สร้างแผนธุรกิจ (Business Model) ที่ชัดเจนและมีความตั้งใจอย่างแรงกล้า (Commitment)
- สร้างวิธี Execute ที่รวดเร็ว หรือหากล้มต้องสามารถลุกได้เร็ว
- สร้างวินัยในการทำงานอย่างต่อเนื่อง และต่อเนื่องได้ทั้งทีม
นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือ สภาวะที่พร้อมรับการโค้ช (Coachable) “ต้องเป็นคนที่ Coachable สอนได้ คนที่เข้ามาในอุตสาหกรรมนี้จำนวนเยอะ ล้มเหลว เพราะการยึดติดกับหมวกใบเดิมที่เคยสำเร็จในอดีต พอมาทำธุรกิจมักคิดว่าทำแบบเดิมแล้วจะสำเร็จ พี่ว่าสนามแต่ละสนามมันมีจุดยากและจุดง่ายของมัน จำเป็นต้องปรับตัวและการปรับตัวที่ง่ายที่สุดคือ เขาต้องเป็นคนที่ coachable ได้ ต้องสอนได้ เมื่อเขาสอนได้ เราแนะนำอะไร เขาก็สามารถปรับได้”
Pain Points ความท้าทายขั้นพื้นฐาน
หนึ่งในความท้าทายพื้นฐานที่สุดสำหรับผู้ให้บริการฟินเทคคือการแก้ปัญหาและความยุ่งยากที่ลูกค้าเผชิญ (pain points) รวมถึงจัดการกับความต้องการที่ไม่จำเป็นต่างๆ ซึ่งความท้าท้ายดังกล่าวทางแม่ทัพรีฟินน์ได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม “ฟินเทคในแต่ละประเทศ มี 2 มิติ คือ มิติที่เป็นระดับ Global กับ มิติ Local ฟินเทคที่อยู่ในเอเชียส่วนใหญ่จะเป็นมิติที่เป็น Local คือสร้างอะไรขึ้นมาจะเป็นการแก้ปัญหาของประเทศนั้นๆ เป็นหลัก เพราะอย่างรีฟินน์ ถ้าไปใช้ในสิงค์โปรอาจไม่เวิร์คเพราะดอกเบี้ยบ้านต่ำมาก ดอกเบี้ยของรัฐแค่ 3% ส่วนแบงค์เอกชนอาจจะประมาณ 1% – 2% ในขณะที่ดอกเบี้ยบ้านในประเทศไทยสัดส่วนอยู่ที่ 6.57% ตอนที่รีไฟแนนซ์ได้เหลือแค่ 3% ช่องว่างมันห่างกันมาก รีฟินน์จึงทำมาเพื่อแก้ปัญหาคนไทยก่อน”
สุดท้ายนี้… OPEN-TEC ขอขอบคุณ คุณนิลทิตา เลิศเรืองศุภกุล ที่มาร่วมแบ่งปันมุมมองที่เป็นประโยชน์ โดยเนื้อหาของบทความนี้เป็นเพียงข้อคิดเห็นบางส่วนคุณโอปอล ที่ OPEN-TEC หยิบมาถ่ายทอดให้ผู้อ่านเห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยยังมีอีกหลายประเด็น หลายมุมมองที่ผู้บริหารท่านนี้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ สามารถติดตามเพิ่มเติมได้จากวีดีโอด้านล่างนี้