เครดิตภาพ: skitterphoto.com

แม้จะมีคำจำกัดความหลายอย่างที่ตลาดและธนาคารต่าง ๆ ใช้กัน ทว่า Open banking คือปรากฏการณ์ที่คาดว่าจะเติบโตขึ้นในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า และถึงแม้ว่าจะมีจุดเริ่มต้นจากอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน แต่ ณ ปัจจุบันหลายอุตสาหกรรมต่างมองเห็นโอกาสเหล่านั้นด้วยเช่นกัน ซึ่ง Open banking หลักๆ แล้ว จะทำในลักษณะแยกส่วน (unbundling) และการประกอบขึ้นใหม่ ( re-bundling ) สำหรับกลุ่มบริการทางการเงินเพื่อเสริมให้ “บริการ” เหล่านั้น สามารถสร้างประโยชน์และนำเสนอโดยบุคคลที่สามที่น่าเชื่อถือได้ ภายใต้ขอบข่ายที่ว่าข้อมูลและฟังค์ชันสามารถขยายออกไปสู่บุคคลที่สามได้ผ่านรูปแบบ APIs โดยสถานะของตัวองค์กรเองต้องบ่งบอกถึงความเต็มใจและความสามารถขององค์กรที่จะเปิดและทำงานร่วมกันได้ ซึ่งเรารู้ว่าการทำ digital transformation และ การลงทุนในยุคของแพลตฟอร์มที่สาม (The 3rd Platform) จะช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถเชื่อมต่อกับระบบนิเวศของธุรกิจและองค์ประกอบทั้ง inbound และ outbound ตามวงโคจรของผลิตภัณฑ์บริการและข้อมูลๆ ซึ่ง API จะเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการเชื่อมต่อเหล่านั้น

เครดิตภาพ: IDC

การใช้ APIs ได้รับการยอมรับในระบบของอุตสากรรมการธนาคารมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังคงถูกจำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชันภายในและกระบวนการการแบ่งปันข้อมูลต่างๆ รวมถึงกระบวนการการกำหนดมาตรฐานภายในธนาคารเดียวกัน (ในกรณีนี้ APIs เหล่านี้จะถูกจัดเป็น Private APIs) ข้อจำกัดทางการใช้งานดังกล่าวของ APIs ถูกมองเป็นเพียงเรื่องของ “ความสามารถทางเทคโนโลยี” โดยอาศัยหลักในการสร้างเทคโนโลยี (ระบบ กระบวนการทางธุรกิจ หรือสินทรัพย์ไอที) เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้ดีขึ้นในการเข้าถึงคลังข้อมูลหลังบ้านตามความจำเป็น มุมมองความคิดเรื่องข้อจำกัดเดียวกันนี้ยังคงอยู่ในธนาคารหลายแห่ง เพราะองค์กรเองมีความระมัดระวังในการเปิด APIs อีกทั้งยังต้องหารือด้านสถาปัตยกรรมทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนอีก ซึ่งองค์กรควรจะพิจารณาว่าพาร์ทเนอร์หรือพันธมิตรควรเข้าถึงข้อมูล รับข้อมูล หรือแชร์ข้อมูลได้มากน้อยเท่าใด โดยสรุปแล้ว ทุกฝ่ายจึงมีความจำเป็นในการหารือร่วมกันว่าทำไมองค์กรถึงจำเป็นต้องเปิดและขยายการใช้งาน APLs นั้น

เมื่อเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับ Open APIs กับซีอีโอและผู้บริหารระดับสูงของธนาคารรวมถึงสถาบันการเงินต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ข้อกังวลแรกที่ถูกหยิบขึ้นมากล่าวถึงคือประเด็นที่ว่า “เราเข้าใจดีว่า API เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนของการพัฒนาโปรแกรม ดังนั้นเราจึงไม่ควรเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและเพียงปล่อยให้ผู้นำสูงสุดทางด้านเทคโนโลยีขององค์กร (CTOs) เป็นคนตัดสินใจเรื่องนี้” ซึ่งนี่คือคำถามที่ค่อนข้างแย่เป็นความเสี่ยงสำคัญในการใช้ API ที่ถูกพิจารณาว่าเป็นเพียงเรื่องของความสามารถทางเทคโนโลยีแท้จริงควรเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจและผู้นำสูงสุดทางด้านเทคโนโลยีขององค์กรรวมถึงทีมเทคนิคขององค์กรนั้นๆ นอกจากนี้ Open APIs เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกโดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารระหว่างแอปพลิเคชันข้ามองค์กร (public APIs) ล้วนต้องอาศัยการตัดสินใจเพิ่มเติมในระดับผู้กำหนดกลยุทธ์ โดยรูปแบบจะคล้ายกับสถานการณ์ที่ธนาคารเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ มีผู้บริหารระดับสูงร่วมพิจารณาถึงศักยภาพของธุรกิจในอนาคตและการเปลี่ยนแปลงด้านหลักพลวัตของตลาดถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาร่วมกับปัจจัยทางเทคโนโลยี

ธนาคารอาจต้องทำเหมือนกับฟินเทคหรือบุคคลที่สามทำคือมอง Open APIs เป็นเหมือนกับโปรดักส์ ซึ่งมุมมองดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้แล้ว โดย ณ ปัจจุบัน ธนาคารได้มองในส่วนของการทำธุรกรรมบนมือถือ (Mobile Banking) อาทิ applications , micro applications รวมถึงว่าธนาคารทางอินเทอร์เน็ต (Internet Banking) ไม่ได้เป็นเพียงตัวช่วยทางด้านเทคโนโลยีเท่านั้นแต่มันคือผลิตภัณฑ์หรือช่องทาง ด้วยเหตุนี้ ธนาคารจึงพยายามอย่างต่อเนื่องในการพัฒนา ปรับปรุงรูปแบบสินค้าและบริการใหม่ๆ รวมถึงขยายโอกาสต่างๆ ด้วยฟังก์ชันการทำงานใหม่ ๆ เพื่อสร้างให้เกิดสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนองกับความต้องการหลากหลายรูปแบบมากขึ้น “Customer Friendly” ซึ่งแผนในการสนับสนุนผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญแม้ว่าจะเป็นช่วงเริ่มต้นก็ตาม

เครดิตภาพ: pixabay.com

ธนาคารและเครือข่ายพันธมิตรที่กำลังเติบโต ล้วนกำลังมองหาโอกาสที่จะสร้างแพลตฟอร์มของตนเอง สร้างบริการที่มีความยืดหยุ่นและมีการเชื่อมต่อที่ง่ายขึ้น ผู้ให้บริการเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมต่างปรับตัวรับกับกระแสผ่านการสร้างแพลตฟอร์มของตนเองและอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อ ซึ่งแตกต่างจากวิถีแบบเดิมที่มุ่งแต่การจัดหาผลิตภัณฑ์ มองหาใบอนุญาต (licenses) ข้อตกลงการบำรุงรักษา (maintenance agreements) รวมถึงบริการอื่นๆ โดยบริการจาก Application Programming Interface และการติดต่อสื่อสารระหว่างแอปพลิเคชันอื่นๆ จึงถูกคาดหวังว่าเป็นรูปแบบการสร้างรายได้ใหม่สำหรับกลุ่มบริษัทเทคโนโลยี ขณะที่ กลุ่มพันธมิตรที่เป็นตัวกลาง (third-party partners) ตัวกลางช่องทางการชำระเงิน (third-party payments) กลุ่มบริษัทที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสร้างบริการที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุน ต่างยินดีที่จะได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบของธนาคารผ่าน Open APIs เพื่อเพิ่มโอกาสและความสามารถในการสร้างมูลค่าและรายได้ให้กับธุรกิจของตน

เชื่อว่า Open APIs จะเป็นมากกว่าเทคโนโลยีที่ ธนาคารควรเปิดใช้ Open APIs จากมุมมองผลิตภัณฑ์ ดังนั้นพวกเขาจำเป็นต้องประเมินศักยภาพทางธุรกิจ (สภาพตลาดศักยภาพการสร้างรายได้และประมาณการการเติบโต) คล้ายคลึงกับวิธีในการพัฒนาแผนธุรกิจ ซึ่งแผนธุรกิจนี้ต้องรวมถึงการประเมินขอบเขต เงื่อนไขการเป็นหุ้นส่วน การจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ รวมถึงราคา (รูปแบบของค่าบริการขึ้นอยู่กับระดับการให้บริการ)

การอภิปรายดังกล่าวอาจขับเคลื่อนไปข้างหน้าสู่พื้นฐานของธุรกิจ ซึ่งบางองค์กรกำลังคุยกันถึงโครงสร้างรายได้แบบดั้งเดิม (อัตราดอกเบี้ยสุทธิ์ ค่าธรรมเนียมธนาคาร และค่าคอมมิสชัน) เปรียบเทียบกับรายได้ที่เกิดขึ้นจากพันธมิตรหรือเพียงแค่ความร่วมมือ